รูปแบบการเรียนรู้ (Learning Style)
โลกยุคนี้เป็นยุคของความรู้และข้อมูลข่าวสาร ผู้ใดมีความรู้และข้อมูลมากกว่าย่อมได้เปรียบกว่า ทั้งนี้เนื่องจากข้อมูลที่เป็นความรู้เพิ่มมากขึ้นทุกวัน และทุก ๆ 5 ปีข้อมูลข่าวสารจะทวีขึ้นเป็น 2 เท่า นอกจากนี้ยังไม่มีใครสามารถสอนความรู้ที่มีอยู่ในโลกนี้ให้แก่เราได้ทั้งหมด โรงเรียนจึงควรเตรียมเด็ก ๆ
และเยาวชนให้รู้จักแสวงหาความรู้อย่างต่อเนื่องด้วยตนเอง เพื่อมิให้เด็กและเยาวชนเหล่านั้นกลายเป็นคนล้าหลัง
และก้าวตามโลกไม่ทันภายหลังจากออกจากโรงเรียนแล้ว การสอนให้เด็กเรียนรู้วิธีเรียนที่ถูกต้อง (Learn how to
learn) จึงเป็นเรื่องที่จำเป็นอย่างยิ่ง
โดยครูต้องเข้าใจและตระหนักเป็นอันดับแรกว่า
เด็กแต่ละคนมีรูปแบบหรือรูปแบบการเรียนรู้ไม่เหมือนกัน ครูที่สามารถรู้ว่าเด็กแต่ละคนในชั้นมีรูปแบบการเรียนรู้เป็นแบบใดจะประสบความสำเร็จ
ในการส่งผ่านความรู้ไปยังนักเรียน
ทำให้เด็กได้พัฒนาศักยภาพในการเรียนรู้ของตนเองได้อย่างเต็มความสามารถมากที่สุด
1.ความหมายของการเรียนรู้
การเรียนรู้
หมายถึง พัฒนาการรอบด้านของชีวิต มีองค์ประกอบ ปัจจัย และกระบวนการที่หลากหลาย
มีพลังขับเคลื่อนเชื่อมโยงสัมพันธ์กันอย่างผสมกลมกลืนได้สัดส่วน สมดุลกัน
เกิดความสมบูรณ์ของชีวิตและสังคมการเรียนรู้
มีความหมายครอบคลุมถึงขั้นตอนต่อไปนี้คือ
1)การรับรู้ (Reception) หมายถึง การที่ผู้คน “รับ” เอาข้อมูลข่าวสารและองค์ความรู้ต่างๆ
จากแหล่งความรู้ที่หลากหลาย ซึ่งรวมทั้งแหล่งความรู้จากครูผู้สอนด้วย
2) การเข้าใจ (Comprehension) หมายถึง
การที่ผู้เรียนสามารถมองเห็นถึงความหมายและความเชื่อมโยงสัมพันธ์กันของสิ่งต่างๆ
ที่ตนเองรับรู้จากแหล่งความรู้ที่หลากหลายในระดับที่สามารถอธิบายเชิงเหตุผลได้
3) การปรับเปลี่ยน (Transformation) เป็นระดับของการเรียนรู้ที่แท้จริง
ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงด้านวิธีคิด (Conceptualization) การเปลี่ยนแปลงระบบคุณค่า
(Values) และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม (Behavior) ในสิ่งที่รับรู้และมีความเข้าใจแล้วเป็นอย่างดี
จากการศึกษาค้นคว้าในประเทศเยอรมันพบว่า
มนุษย์มีการเรียนรู้จากระบบต่างๆ ของร่างกายมากที่สุดถึงน้อยที่สุดดังนี้
ร้อยละ 83 เรียนรู้จากการดู,
เห็น
ร้อยละ 11 เรียนรู้จากการดม
ร้อยละ 10 เรียนรู้จากการฟัง
ร้อยละ 2 เรียนรู้จากการสัมผัส
ร้อยละ 1 เรียนรู้จากการชิม
จากผลการศึกษาค้นคว้าดังกล่าวจะเห็นได้ว่ามนุษย์มีการเรียนรู้ด้วยตามากที่สุด
เพราะฉะนั้นคนที่สามารถสร้างภาพที่เกิดจากความคิดของตนเองให้ผู้อื่นเห็นและเข้าใจภาพนั้นได้
จะได้เปรียบเพราะคนเห็นภาพนั้นก็จะจำความคิดนั้นได้นาน แต่ผลการรับรู้หรือการเรียนรู้นั้นจะคงทนถาวรหรือไม่นั้นอยู่ที่วิธีการได้มาซึ่งความรู้นั้นๆในการเรียนรู้ของบุคคลเรานั้นจะเกิดขึ้นตั้งแต่เริ่มมีชีวิต
และเป็นที่รู้กันโดยทั่วไปว่าการเรียนรู้ได้ดีที่สุดนั้นจะต้องลงมือปฏิบัติด้วยตนเองหรือเป็นการเรียนรู้โดยประสบการณ์ตรงดังสุภาษิตที่กล่าวว่า
“สิบปากว่าไม่เท่าตาเห็น สิบตาเห็นไม่เท่ามือคลำ
สิบมือคลำไม่เท่าลองทำดู” ซึ่งสอดคล้องกับผลการวิจัยประสิทธิผลของการเรียนรู้ของบุคคลด้วยวิธีการต่างๆ
2.รูปแบบการเรียนรู้ของมนุษย์แบ่งตามลักษณะการรับข้อมูล
รูปแบบการเรียนรู้ของมนุษย์แบ่งตามลักษณะการรับข้อมูล
พบว่ามนุษย์สามารถรับข้อมูลโดยผ่านเส้นทางการรับรู้ 3 ทางใหญ่ๆ คือ การรับรู้ทางสายตาโดยการมองเห็น (Visual
percepters) การรับรู้ทางโสตประสาทโดยการได้ยิน (Auditory
percepters) และ
การรับรู้ทางร่างกายโดยการเคลื่อนไหวและการรู้สึก (Kinesthetic
percepters) ซึ่งสามารถนำมาจัดเป็นประเภทของการเรียนรู้ได้ 3 ประเภทใหญ่ ๆ ผู้เรียนรู้แต่ละประเภทจะมีความแตกต่างกันคือ
2.1 ผู้ที่เรียนรู้ทางสายตา (Visual learner) เป็นพวกที่เรียนรู้ได้ดีถ้าเรียนจากรูปภาพ แผนภูมิ แผนผังหรือจากเนื้อหาที่เขียนเป็นเรื่องราว เวลาจะนึกถึงเหตุการณ์ใด
ก็จะนึกถึงภาพเหมือนกับเวลาที่ดูภาพยนตร์คือมองเห็นเป็นภาพที่สามารถเคลื่อนไหวบนจอฉายหนังได้ เนื่องจากระบบเก็บความจำได้จัดเก็บสิ่งที่เรียนรู้ไว้เป็นภาพ ลักษณะของคำพูดที่คนกลุ่มนี้ชอบใช้ เช่น “ฉันเห็น” หรือ “ฉันเห็นเป็นภาพ…..”
พวก Visuallearner จะเรียนได้ดีถ้าครูบรรยายเป็นเรื่องราว และทำข้อสอบได้ดีถ้าครูออกข้อสอบในลักษณะที่ผูกเป็นเรื่องราว นักเรียนคนใดที่เป็นนักอ่าน เวลาอ่านเนื้อหาในตำราเรียนที่ผู้เขียนบรรยายในลักษณะของความรู้ ก็จะนำเรื่องที่อ่านมาผูกโยงเป็นเรื่องราวเพื่อทำให้ตนสามารถจดจำเนื้อหาได้ง่ายขึ้น เด็ก ๆ ที่เป็น Visual learner ถ้าได้เรียนเนื้อหาที่ครูนำมาเล่าเป็นเรื่อง
ๆ จะนั่งเงียบ สนใจเรียน และสามารถเขียนผูกโยงเป็นเรื่องราวได้ดี ผู้ที่เรียนได้ดีทางสายตาควรเลือกเรียนทางด้านสถาปัตยกรรม หรือด้านการออกแบบ และควรประกอบอาชีพมัณฑนากร วิศวกร หรือหมอผ่าตัด พวก Visual
learner จะพบประมาณ 60-65 % ของประชากรทั้งหมด
2.2 ผู้ที่เรียนรู้ทางโสตประสาท (Auditory Learner) เป็นพวกที่เรียนรู้ได้ดีที่สุดถ้าได้ฟังหรือได้พูด จะไม่สนใจรูปภาพ
ไม่สร้างภาพ และไม่ผูกเรื่องราวในสมองเป็นภาพเหมือนพวกที่เรียนรู้ทางสายตา แต่ชอบฟังเรื่องราวซ้ำ ๆ และชอบเล่าเรื่องให้คนอื่นฟัง คุณลักษณะพิเศษของคนกลุ่มนี้ ได้แก่ การมีทักษะในการได้ยิน/ได้ฟังที่เหนือกว่าคนอื่น ดังนั้นจึงสามารถเล่าเรื่องต่าง
ๆ ได้อย่างละเอียดลออ และรู้จักเลือกใช้คำพูด
ผู้เรียนที่เป็น Auditory
learner จะจดจำความรู้ได้ดีถ้าครูพูดให้ฟัง หากครูถามให้ตอบ ก็จะสามารถตอบได้ทันที แต่ถ้าครูมอบหมายให้ไปอ่านตำราล่วงหน้าจะจำไม่ได้จนกว่าจะได้ยินครูอธิบายให้ฟัง
เวลาท่องหนังสือก็ต้องอ่านออกเสียงดังๆ ครูสามารถช่วยเหลือผู้เรียนกลุ่มนี้ได้โดยใช้วิธีสอนแบบอภิปราย แต่ผู้ที่เรียนทางโสตประสาทก็อาจถูกรบกวนจากเสียงอื่น ๆ
จนทำให้เกิดความวอกแวก เสียสมาธิในการฟังได้ง่ายเช่นกัน ในด้านการคิด
มักจะคิดเป็นคำพูด และชอบพูดว่า “ฉันได้ยินมาว่า……../ ฉันได้ฟังมาเหมือนกับว่า……”
พวก Auditory
learner จะพบประมาณ 30-35 % ของประชากรทั้งหมด และมักพบในกลุ่มที่เรียนด้านดนตรี กฎหมายหรือการเมือง ส่วนใหญ่จะประกอบอาชีพเป็นนักดนตรี พิธีกรทางวิทยุและโทรทัศน์ นักจัดรายการเพลง (disc
jockey) นักจิตวิทยา นักการเมือง เป็นต้น
2.3 ผู้ที่เรียนรู้ทางร่างกายและความรู้สึก (Kinesthetic learner) เป็นพวกที่เรียนโดยผ่านการรับรู้ทางความรู้สึก การเคลื่อนไหว และร่างกาย จึงสามารถจดจำสิ่งที่เรียนรู้ได้ดีหากได้มีการสัมผัสและเกิดความรู้สึกที่ดีต่อสิ่งที่เรียน เวลานั่งในห้องเรียนจะนั่งแบบอยู่ไม่สุข นั่งไม่ติดที่ ไม่สนใจบทเรียน และไม่สามารถทำใจให้จดจ่ออยู่กับบทเรียนเป็นเวลานาน
ๆ ได้ คือให้นั่งเพ่งมองกระดานตลอดเวลาแบบพวก Visual
learner ไม่ได้ ครูสามารถสังเกตบุคลิกภาพของเด็กที่เป็น Kinesthetic
learner ได้จากคำพูดที่ว่า “ฉันรู้สึกว่า……”
พวกที่เป็น Kinesthetic
learner จะไม่ค่อยมีโอกาสเป็นพวก Visual
learner จึงเป็นกลุ่มที่มีปัญหามากหากครูผู้สอนให้ออกไปยืนเล่าเรื่องต่าง
ๆ หน้าชั้นเรียน หรือให้รายงานความรู้ที่ต้องนำมาจัดเรียบเรียงใหม่อย่างเป็นระบบระเบียบ เพราะไม่สามารถจะทำได้ ครูที่ยังนิยมใช้วิธีสอนแบบเก่า
ๆ อย่างเช่นใช้วิธีบรรยายตลอดชั่วโมง จะยิ่งทำให้เด็กเหล่านี้มีปัญหามากขึ้น
ซึ่งอาจเป็นเพราะว่าความรู้สึกของเด็กเหล่านี้ได้ถูกนำไปผูกโยงกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเฉพาะสิ่งที่เป็นปัจจุบันเท่านั้น ไม่ได้ผูกโยงกับอดีตหรือเหตุการณ์ที่ยังมาไม่ถึงในอนาคต ครูจึงควรช่วยเหลือพวก Kinesthetic learner ให้เรียนรู้ได้มากขึ้น โดยการให้แสดงออกหรือให้ปฏิบัติจริง เช่น ให้เล่นละคร แสดงบทบาทสมมติ สาธิต ทำการทดลอง หรือให้พูดประกอบการแสดงท่าทาง เป็นต้น
พวก Kinesthetic
learner จะพบในประชากรประมาณ 5-10 % เท่านั้น สาขาวิชาที่เหมาะกับผู้เรียนกลุ่มนี้ได้แก่
วิชาก่อสร้าง วิชาพลศึกษา และควรประกอบอาชีพที่เกี่ยวกับงานก่อสร้างอาคาร หรืองานด้านกีฬา เช่น เป็นนักกีฬา หรือประเภทที่ต้องใช้ความคิดสร้างสรรค์ งานที่ต้องมีการเต้น การรำ และการเคลื่อนไหว
การแบ่งประเภทการเรียนรู้ออกเป็น 3 ประเภทดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้น เป็นการแบ่งโดยพิจารณาจากช่องทางในการรับรู้ข้อมูล
ซึ่งมีอยู่ 3 ช่องทาง ได้แก่ ทางตา ทางหู
และทางร่างกาย แต่หากนำสภาวะของบุคคลในขณะที่รับรู้ข้อมูลซึ่งมีอยู่ 3 สภาวะ มารวมเข้าด้วยกัน จัดตามความหนักเบาจะสามารถแบ่งประเภทการเรียนรู้ออกได้ถึง 6 แบบ คือ
1) ประเภท V-A-K เป็นผู้ที่เรียนรู้ได้ดีที่สุดหากได้อ่านและได้เล่าเรื่องต่าง
ๆ ให้ผู้อื่นฟัง เป็นเด็กดีที่ขยันเรียนหนังสือ
แต่ไม่ชอบเล่นกีฬา
2) ประเภท V-K-A เป็นผู้ที่เรียนรู้ได้ดีที่สุดหากได้ลงมือปฏิบัติตามแบบอย่างที่ปรากฏอยู่ตรงหน้า
และได้ตั้งคำถามถามไปเรื่อย ๆ โดยปกติจะชอบทำงานเป็นกลุ่ม
3) ประเภท A-K-V เป็นผู้ที่เรียนรู้ได้ดีที่สุดหากได้สอนคนอื่น ชอบขยายความเวลาเล่าเรื่อง แต่มักจะมีปัญหาเกี่ยวกับการอ่านและการเขียน
4) ประเภท A-V-K เป็นผู้ที่มีความสามารถในการเจรจาติดต่อสื่อสารกับคนอื่น พูดได้ชัดถ้อยชัดคำ พูดจามีเหตุมีผล รักความจริง ชอบเรียนวิชาประวัติศาสตร์
และวิชาที่ต้องใช้ความคิดทุกประเภท เวลาเรียนจะพยายามพูดเพื่อให้ตนเองเกิดความเข้าใจ ไม่ชอบเรียนกีฬา
5) ประเภท K-V-A เป็นผู้ที่เรียนได้ดีที่สุดหากได้ทำงานที่ใช้ความคิดในสถานที่เงียบสงบ
สามารถทำงานที่ต้องใช้กำลังกายได้เป็นอย่างดีโดยไม่ต้องให้ครูคอยบอก หากฟังครูพูดมาก ๆ อาจเกิดความสับสนได้
6) ประเภท K-A-V เป็นผู้ที่เรียนได้ดีหากได้เคลื่อนไหวร่างกายไปด้วย เป็นพวกที่ไม่ชอบอยู่นิ่ง จึงถูกให้ฉายาว่าเป็นเด็กอยู่ไม่สุข มักมีปัญหาเกี่ยวกับการอ่านและการเขียน ตัวอย่างเช่น
เด็กที่เป็น Auditory
learner จะมีปัญหาคือพูดมากที่สุดและมีปัญหาเกี่ยวกับการเขียนมากที่สุด
3.รูปแบบการเรียนรู้ตามลักษณะทางบุคลิกภาพ
การค้นหารูปแบบการเรียนรู้โดยใช้แบบสำรวจที่นักจิตวิทยาสร้างขึ้นในการให้ผู้เรียนสำรวจตนเอง โดย แนวทางของ Anthony Grasha กับ Sheryl Riechmann คือ สังเกตจาก
ปฏิสัมพันธ์ระหว่างนักเรียนกับครูผู้สอนและสังเกตจากปฏิสัมพันธ์ระหว่างนักเรียนกับเพื่อนร่วมห้อง
Grasha กับ Riechmann ได้แบ่งรูปแบบการเรียนรู้ของนักเรียนในชั้นเรียนตามลักษณะบุคลิกภาพของผู้เรียนออกเป็น
6 ประเภท ได้แก่ แบบแข่งขัน แบบร่วมมือ แบบหลบหนี แบบมีส่วนร่วม แบบพึ่งผู้อื่น แบบพึ่งตนเอง รายละเอียดปรากฏในตารางนี้
บุคลิกภาพ
ของผู้เรียน
|
รูปแบบการเรียนรู้
|
กิจกรรมในชั้นเรียนที่ชอบ
|
1. แบบแข่งขัน
(Competitive)
|
1) เรียนเนื้อหาเพื่อสอบให้ได้คะแนน
สูงกว่าคนอื่น
2) แข่งขันกับผู้อื่นเพื่อหวังรางวัล
เช่น คะแนน ความรักจากครู ฯลฯ
3) สถานการณ์ในชั้นเรียนมีลักษณะ
ชนะหรือแพ้ และ “ฉันต้องชนะ”
|
1) ชอบเป็นผู้นำกลุ่มในการอภิปราย
หรือเป็นผู้นำโครงการ
2) ชอบถามในชั้นเรียน
3) หวังรางวัลหรือคำชมเชยคนเดียว
ในการทำกิจกรรมกลุ่ม
4) ชอบห้องเรียนที่มีลักษณะเป็น
teacher-centered
|
2. แบบร่วมมือ
(Collaborative)
|
1) เรียนได้ดีที่สุดและได้เนื้อหามาก
ที่สุดถ้าได้แบ่งปันความรู้กับเพื่อน
2) ให้ความร่วมมือกับครูและเพื่อน
และชอบการร่วมมือ
3) ห้องเรียนเป็นแหล่งปฏิสัมพันธ์
ทางสังคมและการเรียนรู้เนื้อหา
|
1) ชอบการบรรยายในลักษณะที่
ผู้เรียนมีส่วนอภิปรายในกลุ่มย่อยด้วย
2) ชอบให้ผู้เรียนเป็นผู้กำหนดเนื้อหา
ส่วนครูเป็นผู้ทำหน้าที่ให้ความรู้
3) ชอบให้เพื่อนเป็นผู้กำหนดเกรด
4) ชอบคุยเรื่องราวในชั้นเรียนกับ
เพื่อน ๆ เวลาอยู่นอกห้องเรียน
|
3. แบบหลบหนี
(Avoidant)
|
1) ผู้เรียนไม่สนใจรายวิชาที่ครูยัง
ใช้การสอนแบบดั้งเดิม
2) ไม่ให้ความร่วมมือกับครูและ
เพื่อนในชั้นเรียน
3) ไม่สนใจเรียนหรือบางครั้งก็ให้
ความสนใจจนเกินขอบเขต
|
1) ชอบหลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมในชั้นเรียน
2) ไม่ชอบการสอบ
ชอบให้ประเมิน
ตนเองหรือใช้ระบบให้ทุกคนผ่านหมด
3) ไม่ต้องการให้ครูมอบหมายงานให้
อ่านหรือค้นคว้า
4) ไม่ชอบครูที่ตั้งใจหรือสนใจสอน
5) ไม่ชอบให้ครูกับผู้เรียนปฏิสัมพันธ์
กันเป็นรายบุคคล
6) ไม่ชอบครูที่เตรียมการบรรยายมา
เป็นอย่างดี
|
4. แบบมีส่วน
ร่วม
(Participant)
|
1) ต้องการเนื้อหาความรู้จากครูและ
ชอบเรียนหนังสือ
2) รับผิดชอบในการค้นคว้าความรู้
นอกชั้นเรียนเพื่อให้ได้งานที่ดีที่สุด
3) ให้ความร่วมมือกับกลุ่มเมื่อได้รับ
มอบหมายงาน
|
1) ชอบการบรรยายแบบอภิปราย
2) ผู้เรียนต้องมีโอกาสอภิปรายด้วย
3) ชอบการสอบที่มีข้อสอบทั้งแบบ
ปรนัยและอัตนัย
4) ชอบให้ครูมอบหมายงานให้อ่าน
5) ชอบครูที่มีความสามารถในการ
วิเคราะห์และสังเคราะห์เนื้อหาได้เป็นอย่างดี
|
5. แบบพึ่งผู้อื่น(Dependent)
|
1) ไม่ค่อยกระตือรือร้นในการเรียน
และจะเรียนเฉพาะที่ครูสอนเท่านั้น
2) มองว่าครูกับเพื่อนเป็นแหล่งของ
ความรู้และเป็นผู้ให้การช่วยเหลือ
3) มองหาคนที่มีอำนาจสั่งการเพื่อ
ให้คำแนะนำและแนะแนวการเรียน
|
1) ชอบให้ครูเขียนโครงร่างหรือจด
โน้ตย่อให้บนกระดานดำ
2) ชอบให้ครูกำหนดเส้นตายในการส่งงาน
3) ชอบห้องเรียนที่มีลักษณะเป็น
teacher-centered
|
6. พึ่งตนเอง(Independent)
|
1) ชอบคิดเอง
2) ชอบทำงานคนเดียวมากกว่า
แต่
ก็ยอมรับฟังความคิดเห็นของคนอื่น
ด้วย
3) จะเรียนเฉพาะเนื้อหาที่ตนคิดว่า
สำคัญเท่านั้น
4) เชื่อมั่นความสามารถในการเรียนรู้
ของตนเอง
|
1) ชอบศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง
และชอบสอนตนเอง
2) ชอบเรียนเนื้อหาที่มีลักษณะเป็น
ปัญหาซึ่งผู้เรียนมีโอกาสคิดหาคำตอบ
ได้ด้วยตนเอง
3) ชอบโครงการที่ผู้เรียนเป็นคนคิด
ออกแบบเอง
4) ชอบห้องเรียนที่มีลักษณะเป็น
student-centered
|
4.ทฤษฎีการเรียนรู้ของเบนจามิน
บลูมและคณะ (Bloom et al, 1956)
ได้จำแนกจุดมุ่งหมายการเรียนรู้ออกเป็น
3 ด้าน คือ
1. ด้านพุทธิพิสัย (Cognitive Domain)
2. ด้านทักษะพิสัย (Psychomotor Domain)
3. ด้านเจตพิสัย (Affective Domain)
4.1
พฤติกรรมทางพุทธิพิสัย 6 ระดับ ได้แก่
1) ความรู้ความจำ ความสามารถในการเก็บรักษามวลประสบการณ์ต่าง
ๆ จากการที่ได้รับรู้ไว้และ ระลึกสิ่งนั้นได้เมื่อต้องการเปรียบดังเทปบันทึกเสียงหรือวีดิทัศน์
ที่สามารถเก็บเสียงและภาพของเรื่องราวต่างๆได้ สามารถเปิดฟังหรือ
ดูภาพเหล่านั้นได้ เมื่อต้องการ
2) ความเข้าใจเป็นความสามารถในการจับใจความสำคัญของสื่อ
และสามารถแสดงออกมาในรูปของการแปลความ ตีความ คาดคะเน ขยายความ หรือ การกระทำอื่น
ๆ
3) การนำความรู้ไปใช้ เป็นขั้นที่ผู้เรียนสามารถนำความรู้
ประสบการณ์ไปใช้ในกาแก้ปัญหาในสถานการณ์ต่าง ๆ ได้
ซึ่งจะต้องอาศัยความรู้ความเข้าใจ จึงจะสามารถนำไปใช้ได้
4) การวิเคราะห์ ผู้เรียนสามารถคิด หรือ
แยกแยะเรื่องราวสิ่งต่าง ๆ ออกเป็นส่วนย่อย เป็นองค์ประกอบที่สำคัญได้
และมองเห็นความสัมพันธ์ของส่วนที่เกี่ยวข้องกัน
ความสามารถในการวิเคราะห์จะแตกต่างกันไปแล้วแต่ความคิดของแต่ละคน
5) การสังเคราะห์ ความสามารถในการที่ผสมผสานส่วนย่อย
ๆ เข้าเป็นเรื่องราวเดียวกันอย่างมีระบบ เพื่อให้เกิดสิ่งใหม่ที่สมบูรณ์และดีกว่าเดิม
อาจเป็นการถ่ายทอดความคิดออกมาให้ผู้อื่นเข้าใจได้ง่าย
การกำหนดวางแผนวิธีการดำเนินงานขึ้นใหม่ หรือ
อาจจะเกิดความคิดในอันที่จะสร้างความสัมพันธ์ของสิ่งที่เป็นนามธรรมขึ้นมาในรูปแบบ
หรือ แนวคิดใหม่
6) การประเมินค่า เป็นความสามารถในการตัดสิน
ตีราคา หรือ สรุปเกี่ยวกับคุณค่าของสิ่งต่าง ๆ
ออกมาในรูปของคุณธรรมอย่างมีกฎเกณฑ์ที่เหมาะสม
ซึ่งอาจเป็นไปตามเนื้อหาสาระในเรื่องนั้น ๆ หรืออาจเป็นกฎเกณฑ์ที่สังคมยอมรับก็ได้
4.2
จิตพิสัย (Affective
Domain พฤติกรรมด้านจิตใจ)
ค่านิยม
ความรู้สึก ความซาบซึ้ง ทัศนคติ ความเชื่อ ความสนใจและคุณธรรม พฤติกรรมด้านนี้อาจไม่เกิดขึ้นทันที
ดังนั้น การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยจัดสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม
และสอดแทรกสิ่งที่ดีงามอยู่ตลอดเวลา
จะทำให้พฤติกรรมของผู้เรียนเปลี่ยนไปในแนวทางที่พึงประสงค์ได้
ด้านจิตพิสัย
จะประกอบด้วย พฤติกรรมย่อย ๆ 5 ระดับ ได้แก่
1)
การรับรู้ ... เป็นความรู้สึกที่เกิดขึ้นต่อปรากฎการณ์
หรือสิ่งเร้าอย่างใดอย่างหนึ่ง
ซึ่งเป็นไปในลักษณะของการแปลความหมายของสิ่งเร้านั้นว่าคืออะไร
แล้วจะแสดงออกมาในรูปของความรู้สึกที่เกิดขึ้น
2) การตอบสนอง ...เป็นการกระทำที่แสดงออกมาในรูปของความเต็มใจ ยินยอม
และพอใจต่อสิ่งเร้านั้น ซึ่งเป็นการตอบสนองที่เกิดจากการเลือกสรรแล้ว
3) การเกิดค่านิยม ... การเลือกปฏิบัติในสิ่งที่เป็นที่ยอมรับกันในสังคม
การยอมรับนับถือในคุณค่านั้น ๆ หรือปฏิบัติตามในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง
จนกลายเป็นความเชื่อ แล้วจึงเกิดทัศนคติที่ดีในสิ่งนั้น
4) การจัดระบบ ... การสร้างแนวคิด
จัดระบบของค่านิยมที่เกิดขึ้นโดยอาศัยความสัมพันธ์
ถ้าเข้ากันได้ก็จะยึดถือต่อไปแต่ถ้าขัดกันอาจไม่ยอมรับอาจจะยอมรับค่านิยมใหม่โดยยกเลิกค่านิยมเก่า
5) บุคลิกภาพ ...
การนำค่านิยมที่ยึดถือมาแสดงพฤติกรรมที่เป็นนิสัยประจำตัว
ให้ประพฤติปฏิบัติแต่สิ่งที่ถูกต้องดีงามพฤติกรรมด้านนี้
จะเกี่ยวกับความรู้สึกและจิตใจ ซึ่งจะเริ่มจากการได้รับรู้จากสิ่งแวดล้อม
แล้วจึงเกิดปฏิกิริยาโต้ตอบ ขยายกลายเป็นความรู้สึกด้านต่าง ๆ
จนกลายเป็นค่านิยม
และยังพัฒนาต่อไปเป็นความคิด อุดมคติ
ซึ่งจะเป็นควบคุมทิศทางพฤติกรรมของคนคนจะรู้ดีรู้ชั่วอย่างไรนั้น
ก็เป็นผลของพฤติกรรมด้านนี้
4.3
ทักษะพิสัย (Psychomotor
Domain พฤติกรรมด้านกล้ามเนื้อประสาท)
พฤติกรรมที่บ่งถึงความสามารถในการปฏิบัติงานได้อย่างคล่องแคล่วชำนิชำนาญ ซึ่งแสดงออกมาได้โดยตรงโดยมีเวลาและคุณภาพของงานเป็นตัวชี้ระดับของทักษะ พฤติกรรมด้านทักษะพิสัย
ประกอบด้วย พฤติกรรมย่อย ๆ 5 ขั้น ดังนี้
1) การรับรู้ ... เป็นการให้ผู้เรียนได้รับรู้หลักการปฏิบัติที่ถูกต้อง
หรือ เป็นการเลือกหาตัวแบบที่สนใจ
2) กระทำตามแบบ หรือ เครื่องชี้แนะ ...
เป็นพฤติกรรมที่ผู้เรียนพยายามฝึกตามแบบที่ตนสนใจและพยายามทำซ้ำ
เพื่อที่จะให้เกิดทักษะตามแบบที่ตนสนใจให้ได้ หรือ สามารถปฏิบัติงานได้ตามข้อแนะนำ
3) การหาความถูกต้อง พฤติกรรมสามารถปฏิบัติได้ด้วยตนเอง
โดยไม่ต้องอาศัยเครื่องชี้แนะ เมื่อได้กระทำซ้ำแล้ว ก็พยายามหาความถูกต้องในการปฏิบัติ
4) การกระทำอย่างต่อเนื่องหลังจากตัดสินใจเลือกรูปแบบที่เป็นของตัวเองจะกระทำตามรูปแบบนั้นอย่างต่อเนื่อง
จนปฏิบัติงานที่ยุ่งยากซับซ้อนได้อย่างรวดเร็ว ถูกต้อง คล่องแคล่ว การที่ผู้เรียนเกิดทักษะได้ ต้องอาศัยการฝึกฝนและกระทำอย่างสม่ำเสมอ
5) การกระทำได้อย่างเป็นธรรมชาติ พฤติกรรมที่ได้จากการฝึกอย่างต่อเนื่อง
จนสามารถปฏิบัติ
ได้คล่องแคล่วว่องไวโดยอัตโนมัติ เป็นไปอย่างธรรมชาติ
ซึ่งถือเป็นความสามารถของการปฏิบัติในระดับสูง
บรรณานุกรม
ทศพร แสงสว่าง. “การเรียนรู้ของมนุษย์” นวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษา
มหาวิทยาลัย
เทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
กรุงเทพ.2552(ออนไลน์)
(ออนไลน์)เข้าถึงได้
จาก: https://2educationinnovation.wikispaces.com/การเรียนรู้ของมนุษย์
(วันที่ค้นข้อมูล
25 กรกฎาคม 2559).
ทิศนา
แขมมณี. ศาสตร์การสอน. กรุงเทพฯ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2545
มัณฑรา ธรรมบุศย์. ลีลาการเรียนรู้ (ออนไลน์) เข้าถึงได้จาก: http://portal.edu.chula.ac.th/
girl/blog/view.php?Bid=1245038152800790 (วันที่ค้นข้อมูล 25 กรกฎาคม 2559).
สุรางค์ โค้วตระกูล. จิตวิทยาการศึกษา. กรุงเทพฯ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2544
เข้าถึงได้จาก:
http://www.kroobannok.com/article-35946-ทฤษฎีการเรียนรู้.html.
(วันที่ค้นข้อมูล 25 กรกฎาคม 2559).
อนันต์ศักดิ์ สร้างคำ.ทฤษฎีการเรียนรู้ของบลูม.
อุบลราชธานี.2554 (ออนไลน์)เข้าถึงได้จาก:
https://sites.google.com/site/anansak2554/thvsdi-kar-reiyn-ru-khx-ngblum
(วันที่ค้นข้อมูล 25 กรกฎาคม 2559).